เรื่องของปลวก (1) มารู้จักปลวกให้มากขึ้นกันเถอะ

Last updated: 8 Jul 2020  |  12532 Views  | 

เรื่องของปลวก (1) มารู้จักปลวกให้มากขึ้นกันเถอะ



1. ลักษณะ

ปลวกส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก ความยาวระหว่าง 4 ถึง 15 มิลลิเมตรเท่านั้น มีหนวดลักษณะคล้ายสร้อยลูกปัด มีหน้าที่หลายอย่างเช่น รับรู้การสัมผัส, รสชาติ, กลิ่น, ความร้อน และการสั่นสะเทือน ส่วนอกของปลวกแบ่งเป็นสามปล้องเช่นเดียวกับแมลงชนิดอื่น แต่ละส่วนมีขาหนึ่งคู่ ในแมลงเม่าปีกจะอยู่ที่ปล้องที่สองและปล้องที่สามซึ่งมีเกราะแข็งที่พัฒนาเต็มที่ ในขณะที่ปล้องแรกนั้นมีเกราะขนาดเล็กกว่า โดยปีกหน้าและปีกหลังของแมลงเม่ามีขนาดเท่ากันซึ่งต่างจากพวกมด และความแตกต่างระหว่างมดกับปลวกอีกส่วนหนึ่งก็คือ เอว  มดจะมีเอวที่คอดกิ่ว ส่วนปลวกท้องกับตัวจะต่อกันไม่เห็นเอวชัดเจนเหมือนของมด





2. วรรณะของปลวก

วรรณะแรงงาน
มีหน้าที่เป็นแรงงานส่วนใหญ่ภายในรัง มีหน้าที่หาอาหาร เก็บอาหาร ทำความสะอาด ดูแลไข่ ซ่อมแซมรัง ปลวกงานยังมีหน้าที่ย่อยเซลลูโลสในอาหาร ปลวกที่กัดกินไม้ในบ้านเราก็คือกลุ่มนี้นี่เอง และหลังออกหาอาหารปลวกงานจะนำอาหารที่ย่อยแล้วไปป้อนปลวกตัวอื่นในรัง ทั้งปลวกทหาร ปลวกราชาและราชินี นี่จึงทำให้ราชินีปลวกมีหน้าที่ผลิตประชากรเพิ่มเพียงอย่างเดียว ไม่ต้องออกหาอาหารเอง

วรรณะทหาร
จะมีการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคและพฤติกรรมไปเฉพาะทาง หน้าที่ของวรรณะนี่คือเพื่อปกป้องรังเท่านั้น ปลวกทหารมีหัวขนาดใหญ่ มีขากรรไกรอันทรงพลังที่ใหญ่มากจนมันไม่สามารถกินอาหารเองได้ มันจึงต้องอาศัยปลวกงานคอยป้อนอาหาร ปลวกทหารในสปีชีส์ Coptotermes ยังสามารถล่อยสารเหนียวป้องกันศัตรูได้ด้วย

วรรณะสืบพันธ์
วรรณะสืบพันธ์ของรังประกอบด้วยตัวผู้และตัวเมียที่เจริญพันธ์เรียกว่าราชาและราชินีปลวก ราชินีปลวกมีหน้าที่ในการผลิตไข่สำหรับสืบพันธ์ ราชาปลวกจะผสมพันธ์กับราชินีตลอดทั้งชีวิตของมัน ซึ่งต่างจากมดที่ตัวผู้จะผสมพันธ์แค่ครั้งเดียว ในบางสปีชีส์ส่วนท้องของราชินีปลวกขยายขนาดใหญ่มากเพื่อเพิ่มความความสามาถในการขยายพันธ์  ราชินีจะผลิตแมลงเม่าเป็นเวลาประจำในแต่ละปี และจะบินออกไปเป็นฝูงใหญ่เมื่อถึงเวลาผสมพันธ์

“เมื่อเข้าใจชีววิทยาในส่วนของวรรณะปลวกแล้วเราจะสังเกตได้ว่า ในการป้องกันกำจัดปลวกหากเราสามารถจัดการปลวกงานที่เป็นเหมือนตัวหล่อเลี้ยงทั้งรังได้แล้ว ก็เท่ากับเราสามารถจัดการปลวกได้ทั้งรัง”


3. อาหาร
ปลวกเป็นผู้ย่อยสลายที่บริโภคซากพืชในทุกระยะของการย่อยสลาย พวกมันยังมีบทบาทที่สำคัญในระบบนิเวศน์โดยการรีไซเคิลวัสดุจำพวกซากไม้, มูล และพืชหลายสปีชีส์ โดยมีระบบย่อยอาหารพิเศษที่สามารถย่อยเส้นใยอาหารได้ ปลวกถือเป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญของแก็สมีเทนในชั้นบรรยากาศซึ่งเป็นหนึ่งในแก็สเรือนกระจกจากการย่อยเซลลูโลส ปลวกพึ่งพาอาศัยโปรโตซัวและจุลชีพอื่น ๆ ที่อยู่ในกระเพาะในการย่อยเซลลูโลสให้พวกมัน และดูดซึมสารอาหารที่ได้จากการย่อยโปรโตซัว โดยในปลวกทุกสปีชีส์จะมีการป้อนอาหารที่ย่อยแล้วให้กันและกันจากปลากหรือรูทวาร

บางสปีชีส์มีการเพาะเลี้ยงเชื้อราในรังของพวกมัน ซึ่งจะได้สารอาหารจากมูลของพวกปลวก เมื่อรานี้ถูกกิน สปอร์ของมันจะคงสภาพอยู่ในระบบย่อยอาหารของปลวกสามารถที่จะสืบพันธ์ต่อในมูลสดของปลวกได้

นี่คือ "เรื่องของปลวก" บางส่วน สนใจเรื่องราวความมหัศจรรย์ของปลวกติดตามอ่านได้ที่ เรื่องของปลวกตอนที่ 2 นะครับ

การเรียนรู้ข้อมูลชีววิทยาของปลวก
จะช่วยให้เราเข้าใจและสามารถออกแบบ/เลือกวิธี ในการควบคุม ป้องกัน กำจัดปลวก ได้อย่างถูกต้อง ตรงจุดมากขึ้นครับ

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy