Last updated: 8 มิ.ย. 2562 | 2565 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งถูกแพร่กระจายโดยยุงลาย ส่งผลกระทบต่อคนทุกเพศ ทุกวัยแม้กระทั่งเด็กเล็ก
ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะมาก คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย มีการออกผื่นบ้าง ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดข้อ โดยเฉพาะข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อนิ้วมือ ข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำงานได้อันเนื่องมาจากอาการปวด ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเรื้อรังต่อเนื่องเป็นเดือนหรือเป็นปี ทำให้ถูกวินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้เช่นกัน
โดยโรคดังกล่าวได้มีการระบาดอย่างรุนแรงทางตอนใต้ของประเทศไทย ประเทศในแถบมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงประเทศในแถบแอฟริกา
และวิธีป้องกันโรคชิคุนกุนยาที่ต้นเหตุก็คือ การกำจัดยุงลาย ซึ่งมีวิธีแนะนำดังนี้
วิธีกล
1.ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ซึ่งยุงลายมักอาศัยในแหล่งน้ำขังสะอาดบริเวณบ้าน เช่น ตุ่มน้ำ, อ่างน้ำ, บ่อซีเมนต์, กระป๋อง, ยาง, รถยนต์, จานรองขาตู้, แจกัน, กาบใบพืช, โพรงไม้
2. ปล่อยปลาลงในแหล่งน้ำภายในบ้าน
วิธีใช้สารเคมี
1. ใช้วัตถุเคลือบสารเคมีกำจัดลูกน้ำ เช่น ทรายอะเบท ใช้ใส่ลงในน้ำขังที่อยู่ในบริเวณบ้าน เป็นสารเคมีที่มีอันตรายน้อย เมื่อใส่ตามอัตราส่วนที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำจะไม่เกิดอันตรายทั้งคนและสัตว์เลี้ยง มีฤทธิ์กำจัดลูกน้ำของยุงลาย และป้องกันไม่ให้เกิดลูกน้ำได้นานประมาณ 1-3 เดือน
2. การใช้สารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สารไพรีทริน(Pyrethrin) ซึ่งเป็นมิตรกับคนและสัตว์เลี้ยง มีฤทธิ์ในการกำจัดแมลง ฉีดพ่นในบริเวณบ้านและจุดเกาะพักของยุง
3. การใช้สารเคมีกำจัดยุง ในกลุ่มไพรีทรอยด์(Synthetic Pyrethroid Compounds) เช่น เดลต้าเมทริน(Deltamethrin), เพอรเมทริน(Permethrin), ไบเฟนทริน(Bifentrin) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มที่มีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดแมลง ปลอดภัย มีพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและคนต่ำมาก ซึ่งมีหลายวิธีในการใช้ ทั้งในรูปแบบสเปรย์กระป๋องที่มีขายตามท้องตลาด ใช้โดยการอบควันกำจัดยุง(Fogging) หรือ การอบละอองฝอย(Misting)
ซึ่งการใช้สารเคมีทั้งหมดควรศึกษาวิธีใช้ ข้อแนะนำอย่างละเอียด หรือทำโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่สูงสุด
“ป้องกันก่อนสาย กำจัดยุงลาย ตัวอันตรายในบ้านคุณ”
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
www.bumrungrad.com
www.tm.mahidol.ac.th
18 ก.พ. 2564
27 ก.พ. 2564
9 ก.พ. 2564
15 พ.ค. 2566