Last updated: 8 ก.ค. 2563 | 4979 จำนวนผู้เข้าชม |
หนู : ตัวการสำคัญในการนำเชื้อโรคและทำให้ทรัพย์สินเสียหาย
เนื่องจากลักษณะทางกายภาพของหนูทำให้พวกมันต้องมีการทำลายข้าวของเพราะหนูจะมีฟันที่งอกยาวออกมาเรื่อยๆ ซึ่งหากมันปล่อยให้ฟันยาวออกมาเรื่อยๆ จะทำให้มันตายได้ ดังนั้นที่หนูกัดแทะข้าวของ จึงไม่ใช่เพื่อการหาอาหาร เพียงอย่างเดียว หากแต่มันยังทำเพื่อยับยั้งให้ฟันมันไม่ยาวจนเกินไป
ความเสียหายจากปัญหา : หนู
จากผลการสำรวจในทุกๆ ปีของธุรกิจพาณิชย์และอุตสาหกรรมต้องสูญเสียเงินจำนวนนับล้านบาท เพราะความหายนะ จากอัคคีภัยที่เกิดจาก การกัดแทะสายไฟฟ้าของหนู และอันตรายที่น่าวิตกที่สุดได้แก่ โรคร้ายที่มัน เป็นพาหะนำมา อาทิ โรคฉี่หนู โรคไข้หนู กาฬโรค เนื่องจากระหว่างที่กินอาหารจะปัสสาวะบ่อย ทำให้อาหารและภาชนะต่างๆ ที่อยู่ในบริเวณที่มันวิ่งผ่านสกปรก
วิธีการป้องกันและแก้ปัญหา : หนู
1. การใช้เหยื่อพิษ/กับดัก/กรงดัก/กาวดัก หรือการรมยา (ฺBaiting / Trapping / Sticky Board / Fumigation)
2. ควบคุมโดยใช้สิ่งกีดขวาง / ควบคุมโดยชีววิทยา (Proper Stacking / Biological Control)
3. วิธีสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม (Environmental Control)
มาตรฐานการทำบริการ : หนู
สำรวจพื้นที่ทั้งหมดโดยละเอียด เพื่อดูสภาพปัญหาก่อนการทำบริการ อันได้แก่ ร่องรอยหลักฐาน (Evidence or Rat Sidn) ที่เกิดจากหนู เช่น รูหนู รังหนู ทางวิ่ง มลูหนู รอยกัดแทะทำลาย หรือคราบไคล (Smear Mark) เป็นต้น
วางเหยื่อกำจัดหนู ชนิดออกฤทธิ์ช้า หรือเร็ว ตามความเหมาะสมทั้งชนิดก้อนขี้ผึ้ง และคลุกเม็ด (Wax Block / Gain Mized)
วางกาว (Glue Board/Sticky Board) ตามพื้นที่เหมาะสมและบริเวณที่วางเหยื่อพิษไม่ได้
วางกับดัก (Trapping) จะพิจารณาเลือกใช้ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม โดยใช้กับดักเป็นหรือกับดักตาย (Live Trap / Snap Trap)
ตรวจเช็ค / ติดตามผล และทำบริการอย่างต่อเนื่อง
ให้คำแนะนำในการป้องกันและการกำจัดหนูเบื้องต้น เช่น การป้องกันการเข้ามาในพื้นที่ (Exclustion) การลดแหล่งอาศัย แหล่งหลบซ่อน โดยการจัดเก็บข้าวของให้เป็นระเบียบ ลดแหล่งอาหาร ได้แก่ การจัดเก็บและการทิ้งขยะอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น
14 พ.ย. 2561
14 พ.ย. 2561
14 พ.ย. 2561